วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การประกอบอาชีพดนตรีและแนะแนวการเรียนดนตรี โดย อุเทน อินทโร


การประกอบอาชีพดนตรีและแนะแนวการเรียนดนตรี โดย อุเทน อินทโร







1. การประกอบอาชีพดนตรี
1.1. อาชีพดนตรี
• ใช้วุฒิการศึกษาเป็นหลัก (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีในระบบ) ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพทางด้านการศึกษา ได้แก่อาชีพ ครูดนตรีในระบบการศึกษา นักวิชาการทางด้านดนตรี 
• ใช้ฝีมือเป็นหลัก (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีทั้งในและนอกระบบ) ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพทางด้านการปฏิบัติอาศัยทักษะทางดนตรี ได้แก่อาชีพ ครูดนตรีนอกระบบ นักดนตรีทั่วไป Conductor ผู้ประพันธ์เพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน บรรเลงดนตรีประกอบการ้องเพลง บรรเลงดนตรีประกอบการบรรเลง นักเล่นดนตรีในห้องบันทึกเสียง Sound Engineer นักดนตรีที่ผลิตอัลบั้มของตนเอง
1.2. อาชีพดนตรีแบบประยุกต์ เป็นการผมผสานระหว่างทักษะทางดนตรีและทักษะอาชีพอื่น (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีนอกระบบ)

ทักษะที่ผสมกับวิชาดนตรี อาชีพ
วิชาสามัญทั่วไป นักดนตรี ครูสอนดนตรีนอกระบบ ผลิตอัลบั้ม 
นักดนตรีที่ผลิตอัลบั้มของตนเอง ผู้จัดการร้านที่เกี่ยวกับดนตรี 
พนักงานขายเครื่องดนตรี 
ธุรกิจ / นักลงทุน ธุรกิจโรงเรียนดนตรี ธุรกิจค่ายเพลง ธุรกิจร้านขายเครื่องดนตรี ธุรกิจห้องบันทึกเสียง ธุรกิจสถานที่แสดงดนตรี ธุรกิจจัดหานักดนตรีแสดงในงานต่างๆ (เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงบริษัท) ธุรกิจให้เช่าชุดแสงสีเสียงสำหรับการแสดงดนตรี ธุรกิจของที่ระลึกทางดนตรี ธุรกิจห้องซ้อมดนตรี
สถาปนิก ออกแบบห้องแสดงดนตรี ออกแบบห้องบันทึกเสียง (การสะท้อนของเสียง) ออกแบบห้องซ้อมดนตรี ออกแบบห้องเรียนดนตรี (การเก็บเสียง)
การฟังเพลง ดีเจ ร้านขาย CD ผู้ปรับเสียง (Mix)
ศิลปะ ออกแบบปก CD และ Poster ดนตรี ออกแบบแสงในการแสดงดนตรี 
ถ่ายภาพการแสดงดนตรี 
ผู้กำกับ ผลิตมิวสิก VDO ควบคุมการถ่าย Concert (รู้ว่านักดนตรีคนไหน Solo)
งานฝีมือ / วิศวกร ซ่อมเครื่องดนตรี สร้างเครื่องดนตรี ออกแบบหรือประดิษฐ์เครื่องดนตรี ประดิษฐ์ของที่ระลึกทางดนตรี



2. การเรียนดนตรี 
2.1. การเรียนดนตรีในระบบ คือการเรียนดนตรีเพื่อประกอบอาชีพดนตรีแบบมืออาชีพ เปรียบเสมือนลู่วิ่งสำหรับนักแข่งที่มีเส้นชัยรออยู่ ต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจวิ่งสู่จุดหมาย หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ชอบดนตรีแล้วไม่สามารถเรียนต่อได้จึงหันมาเรียนดนตรีหรือต้องการประกอบอาชีพดนตรีในระดับทั่วไป แต่จริงๆ แล้วการเรียนแบบนี้ต้องเป็นผู้ที่รักที่จะเล่นดนตรี 
• ระดับเตรียมอุดมศึกษา (ม.4 - ม.6) เป็นการเรียนเพื่อผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพให้กับมหาวิทยาลัยดนตรี โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีเป้าหมายที่จะเข้ามหาวิทยาลัยดนตรีอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสายการศึกษาได้ ดังนั้นผู้ที่สอบเข้าเตรียมอุดมดนตรีจะต้องเตรียมความพร้อมทางดนตรีก่อนสอบเข้าอย่างน้อยในระดับ ม.1- ม.3 โดยมีพื้นฐานทางดนตรีที่สามารถเล่นดนตรีได้ มีทักษะการอ่านโน้ต มีความรู้เรื่องบันไดเสียง ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนที่เรียนดนตรีนอกระบบควบคู่กับการเรียนสามัญ หากสนใจที่จะสอบเข้าระดับอุดมศึกษาทางดนตรี จะต้องแจ้งความจำนงกับอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีของโรงเรียนหรือเรียนดนตรีนอกระบบเสริม โดยบอกจุดประสงค์ให้อาจารย์ทราบ เพื่อให้อาจารย์ให้ช่วยเสริมความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบเข้า
• ระดับปริญญาตรี เป็นการเรียนเพื่อประกอบอาชีพดนตรี
• มหาวิทยาลัย (ดนตรี) เป็นสถาบันที่มีอาจารย์ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน บางสถาบันมีอาจารย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากต่างประเทศ จะต้องศึกษาว่าแต่ละสถาบันมีความโดดเด่นทางด้านใด เหมาะสมกับเป้าหมายหมายของตนรึเปล่า เนื่องจากมหาวิยาลัยมีผู้ต้องการเรียนเป็นจำนวนมาก ทางสถาบันจึงต้องคัดสรรผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ดังนั้นผู้ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมความพร้อมทางดนตรีก่อนสอบเข้าอย่างน้อยในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6
• มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ดนตรี) เป็นสถาบันอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้เรียนที่ต้องการประกอบอาชีพดนตรี แต่มีพื้นความรู้และทักษะทางดนตรีไม่มากนัก ดังนั้นที่ผู้เรียนจะต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการปฏิบัติดนตรี เนื่องจากค่าเรียนไม่สูงนัก ดังนั้นควรต้องลงทุนเพิ่มในเรื่องการเรียนเสริมประสิทธิภาพทางด้านดนตรีปฏิบัติจากโรงเรียนนอกระบบ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น
2.2. การเรียนดนตรีนอกระบบ / โรงเรียนเอกชนนอกระบบหรือโรงเรียนวิชาชีพ 15 (2) คือการเรียนดนตรีแบบทางเลือก ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะประกอบอาชีพดนตรี หรือต้องการเป็นผู้เล่นดนตรีแต่ประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ 
1. ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางด้านดนตรี ตอบสนองความต้องการในการเล่นดนตรี การร้องเพลง การแต่งเพลง จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่เปิดตามแหล่งชุมชนหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ
2. เตรียมความพร้อมสำหรับเรียนในระบบ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการเข้าเรียนในระบบการศึกษาทางดนตรี จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่เปิดสอนการเรียนกวดวิชาทางด้านดนตรี มีหลักสูตรที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนเข้าสู่การเรียนในระบบการศึกษาทางดนตรี
3. สร้างความพร้อมสำหรับมืออาชีพ ตอบสนองความต้องการสำหรับผู้เล่นที่ต้องการพัฒนาฝีมือในระดับมืออาชีพ จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่มีศักยภาพในการจัดหาครูเก่งๆ ระดับสากลที่เรียกว่า Profession ในระดับประเทศและต่างประเทศ หรือโรงเรียนที่เจาะลึกเฉพาะด้านโดยผู้ที่มีฝีมือทางดนตรีในระดับสูงเป็นผู้เปิดสอน

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น